สองพี่น้อง..ยินดีต้อนรับค่ะ www.library6409.blogspot.com

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์

  ประวัติความเป็นมา
         "ปลาหมำ" ดังเดิมเป็นอาหารของคนญวน  คำว่า หมำมาจากภาษาญวนแปลว่า การหมัก  ซึ่งในสมัยก่อนนี้มีปลามากมาย  เมื่อหาปลามามากชาวบ้านจะหาวิธีที่จะเก็บถนอมอาหารประเภทปลา ให้สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ จึงได้ทำปลาหมำขึ้นมา  และในสมัยก่อนไม่มีการค้าขาย  จะทำไว้เพื่อแลกเปลี่ยนกันในหมู่บ้านเท่านั้น  เช่น  ข้าว  ผัก  และผลไม้ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันนี้  ได้ทำเป็นการค้าขายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน
         จากการที่ "ปลาหมำ" เป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของ  ต.ต้นตาล  อ.สองพี่น้อง  จ.สุพรรณบุรี  นี่เองจึงนำมาตั้งเป็นคำขวัญของอำเภอสองพี่น้อง  ที่ว่า "ชื่อมีคนน้อย อร่อยปลาหมำ เลิศล้ำพระสงฆ์ หลวงพ่อโหน่งพระเครื่อง รุ่งเรืองนาไร่ พระใหญ่โลกรู้ เสภาชั้นครู อู่น้ำอู่ปลา ราชินีนักร้อง สองพี่น้องบ้านเรา" นางสาวอำพร  จุลสุคนธ์ หรือป้าพร ประธานกลุ่มปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ ได้ซึมซับการทำปลาหมำมาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากทางบ้านทำปลาหมำเป็นประจำอยู่แล้ว  สำหรับการแรกเปลี่ยนสินค้าดังที่กล่าวข้างต้นและต่อมาในระยะหลังจึง  ได้ผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้นเพื่อจำหน่าย และยึดมาเป็นอาชีพจนกระทั่งในปัจจุบัน
          จากการคัดสรรคสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภันฑ์ไทย ปี 2549 (OTOP Product Champion)  กลุ่มปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ ได้รับการคัดสรรคเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว ซึ่งเป็นรางวัลที่รับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลาหมำบ้านแม่พระประจักษ์ได้เป็นอย่างดี
กลุ่มผู้ประกอบการ
-กลุ่มผู้ผลิต  กลุ่มปลาหมำแม่พระประจักษ์
-สถานที่ผลิต  เลขที่ 9 หมู่ 4 ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 72110
-ติดต่อ  นางสาวอำพร  จุลสุคนธ์
-โทร 035-542-213  08-6805-1933
-ประธานกลุ่ม  นางสาวอำพร จุลสุคนธ์
-สถานที่ตั้งกลุ่ม  เลขที่ 9 หมู่ 4 ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 72110
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
      เอกลักษณ์ของปลาหมำ  บ้านแม่พระประจักษ์  คือ ปลาที่จะนำมาทำปลาหมำนั้น จะใช้ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด และจะต้องเป็นปลาสดเท่านั้น ในการผลิตที่ใส่ข้าวคั่วเพื่อให้หอมและเนื้อปลาไม่ติดกัน และใส่สัปปะรดเพื่อให้เนื้อปลานุ่ม ลดความเค็ม รสชาติกลมกล่อม
      ปลาหมำ ต่างจากปลาร้า คือ
     -ปลาร้า  ใช้วิธีการหมักทั้งตัวปลา  ไม่มีการแร่ก้างออก
     -ปลาหมำ เป็นอาหารของชาวญวน ใช้ปลาช่อน หรือ ปลาชะโด ที่สดเท่านั้น และการผลิตจะต้องแร่ก้างออก และแร่เนื้อปลาเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ ก่อนที่จะหมัก
                                                           ******************************************
                                             เปลญวน

ประวัติความเป็นมา
เปลญวนเป็นงานหัตถกรรม พื้นบ้านของ หมู่ 4 บ้านแม่พระประจักษ์ ซึ่งสืบทอดกันมานาน กว่า 60 ปี โดยในการทำครั้งแรกเริ่มจากปอ และผักป่องหรือ ผักตบชวา เพราะที่บ้าน แม่พระประจักษ์ เป็นที่ราบรุ่ม ติดกับลำคลอง จึงทำให้มีต้นปอและป่องขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงคิดเอาวัชพืชทั้ง 2 ชนิดมาถักเปลให้ลูกหลานได้นอนกัน หลังจากนั้น นางฉลวย สังข์รัตน์ เห็นเรือที่แจวไปมา และจะมีด้ายที่พันหลังแจวซึ่งมีความทนทาน จึงมองเห็นแนวทางที่จะนำมาทำเป็นเปลญวนและทนทานมากกว่าเปลที่ทำจากผักตบชวา
หลักจากนั้น นางฉลวย ก็ได้เดินทางไปทำธุระที่กรุงเทพฯ ระหว่างที่เดินทางนั้นก็ได้เหลือบเห็นด้ายทอที่ผ้าที่ทางโรงงานไม่ใช้ และนำมาเผาทิ้งที่ข้างทาง เกิดความสนใจที่จะนำด้ายทอผ้านั้นมาทำเปลญวน แต่ในปัจจุบันไม่มีเศษด้ายทิ้งอีกแล้ว จึงต้องไปซื้อจากโรงงานมาถักแทน   นางสาวเรือนแก้ว สังข์รัตน์ ประธานกลุ่มเปลญวนบ้านแม่พระประจักษ์ ซึ่งมีความสนใจในการทำ
เปลญวนและได้สะสมประสบการณ์การทำเปลญวน จากนางฉลวย สังข์รัตน์ ผู้เป็นแม่ จึงได้รวมกลุ่มกับสมาชิกและตั้งกลุ่มการทำเปลญวนขึ้นมา โดยให้ชื่อว่า "กลุ่มเปลญวนบ้านแม่พระประจักษ์" มีผู้ใหญ่บ้าน สำนักงานพัฒนาชุมชนร่วมให้คำปรึกษา แนะนำครู กศน. เข้ามาช่วยคิดลวดลายของเปล พาไปศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาเปลให้มีหลายรูปแบบ โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลต้นตาล เปลญวนบ้านแม่พระประจักษ์มีความคงทนยาวนานนับสิบปี เนื่องจากใช้เส้นด้ายทอผ้าม้วนรวมกันเป็นเกลียวเส้นเล็กขนาดเท่าปลายตะเกียบ และนำมาถักทอเป็นลายเตียว ซึ่งเป็นลายที่เป็นเอกลักษณ์ของ ชาวญวน สามารถซักทำความสะอาดได้ สีสันสวยงามและเป็นงานฝีมือที่ราคาไม่แพงเหมะสมแก่การซื้อให้เป็นของขวัญของฝากจากบ้านแม่พระประจักษ์ ตำบลต้นตาล อำเภอสองพีน้อง จังหวัดสุพรรณบุรี รับรองว่าเป็นที่ถูกใจแก่ผู้รับแน่นอน
กลุ่มผู้ประกอบการ
-กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มเปลญวนบ้านแม่พระประจักษ์
-สถานที่ผลิต 86 หมู่ 4 บ้านแม่พระประจักษ์ ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 72110
-ติดต่อ นางสาวเรือนแก้ว สังข์รัตน์
-โทร 035-542-270  08-7158-4808
-ประธานกลุ่ม นางสาวเรือนแก้ว สังข์รัตน์
-สถานที่ตั้งกลุ่ม 86 หมู่ 4 บ้านแม่พระประจักษ์ ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 72110
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
     เปลญวนบ้านแม่พระประจักษ์ มีจุดเด่นตรงที่เป็นงานฝีมือล้วน ๆ ถักจากเส้นด้ายจึงมีความคงทนนานนับสิบปี สีสันสวยงาม สามารถซักทำความสะอาดได้ และเมื่อนอนเปลแล้วจะไม่เจ็บตัว เพราะลวดลายที่ถักไม่มีปมมัดเหมือนเปลทั่ว ๆ ไป และหากเปลขาด ก็ไม่หลุดเป็นลูกโซ่ เหมือนเปลที่ใช้เครื่องจักรถัก สามารถซ่อมแซมและใช้ต่องานต่อได้
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
     ที่ทำการกลุ่ม  86  หมู่ 4 บ้านแม่พระประจักษ์ ต.ต้นตาล อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี 72110
     -วัดไผ่โรงวัว
     -วัดป่าเลไลยก์
     -สวนจตุจักร
     -พุทธมณฑล
     -ภูเก็ต , เกาะเสม็ด

                                                           *****************************************